หุ้นกู้ น่าสนใจหรือน่าหลีกเลี่ยง?

หุ้นกู้ น่าสนใจหรือน่าหลีกเลี่ยง?

ว่ากันด้วยเรื่องของ “หุ้น” หลายๆ ท่านก็คงจะร้องอ๋อ และหันมาสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกันอย่างมากมายโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ที่เริ่มที่จะวางแผนการเงินกันตั้งแต่เนิ่นๆ ใช่มั้ยหล่ะครับ แต่ต้องยอมรับว่าหลายๆ ท่านก็คงจะคาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับห้นในหลายๆ ด้านอยู่พอสมควร แต่ใมบทความนี้จะมากล่าวเกี่ยวกับ “หุ้นกู้” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น….เราไปชมกันดีกว่าครับ

นิยามของ “หุ้นกู้”

หุ้นกู้ คือ “ตราสารหนี้” ที่ออกโดยภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจการต่างๆ ของบริษัท เช่น เพื่อการลงทุนขยายกิจการ ซื้ออุปกรณ์ หรือเพื่อก่อสรา้งโรงงาน เป็นต้น หุ้นกู้สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่าๆ กัน ในประเทศไทยการออกหุ้นกู้โดยทั่วไปมักจะกำหนดมูลค่าหน่วยละ 1000 บาท

เมื่อท่านซื้อหุ้นกู้ ก็หมายความว่า ท่านให้เงินกู้กับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ หรืออาจจะแปลได้อีกความหมายก็คือ ท่านจะอยู่ในสถานะของ “เจ้าหนี้” และบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น จะอยู่ในสถานะ “ลูกหนี้” ของท่าน โดยที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นให้คำสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจะชำระเงินต้นคืน ณ วันครบกำหนดอายุของหุ้นกู้แตกต่างจากหุ้นสามัญ ที่เมื่อท่านซื้อหุ้นสามัญไปแล้วท่านจะอยู่ในสถานะของ “เจ้าของ” ของบริษัทที่ออกหุ้นสามัญนั้นๆ สัดส่วนความเป็นเจ้าของของท่านก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นสามัญที่ท่านถืออยู่ ทั้งนี้ การอยู่ในสถานะของการเป็นเจ้าของนั้น ทำให้ท่านต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทนั้นๆ ด้วย

แนะนำ 4 ประเภทของหุ้นกู้

  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Bond หรือ Junior Bond) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสาร ในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญรายอื่น แต่จะสูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเป็นอันดับสุดท้าย
  • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสาร ทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือหุ้นสามัญตามลำดับ
  • หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond) คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกตราสาร นำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ และผู้ถือจะมีสิทธิเต็มที่ในสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ  โดยปกติในทางปฏิบัติมักจะมีการตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (Bond Holder Representative) เพื่อทำการตรวจสอบสถานะของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน
  • หุ้นกู้ชนิดที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond) คือ หุ้นกู้ที่ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ วางไว้เป็นประกันในการออก ซึ่งหากผู้ออกตราสารล้มละลายต้องทำการแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วน

2 ความเสี่ยงในการลงทุนกับ “หุ้นกู้”

  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง หากเลือกลงทุนในหุ้นกู้ระยะยาวโดยปราศจากการวางแผน อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่คุณมีความต้องการใช้เงินก่อนครบกำหนดอายุการลงทุน จนต้องนำไปขายที่ตลาดรอง และส่งผลให้คุณอาจต้องขายขาดทุนหรือไม่ได้รับเงินตามที่ควรจะได้ถ้าถือต่อจนครบอายุ
  • ความเสี่ยงด้านเครดิต คือ โอกาสที่บริษัทที่คุณนำเงินไปลงทุน ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้ ผลที่ตามมา คือ บริษัทอาจไม่ยินยอมที่จะชำระหนี้ต่อ หรืออาจถูกฟ้องล้มละลาย ส่งผลให้การลงทุนของคุณเกิดความเสียหายได้นั่นคือ คุณอาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ หรือคุณอาจจะสูญเสียเงินต้นทั้งหมดที่คุณลงทุนไปได้

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “หุ้นกู้” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ

Adrian Stone

Related Posts

Read also x